บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
วันจันทร์ที่ 20กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 เวลา 11.30-14.30 น.
อ้างอิง ปาริฉัตร ภู่เงิน
อ้างอิง ปาริฉัตร ภู่เงิน
ความรู้ที่ได้รับ
👉นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะ
วันจันทร์ ของแต่ละกลุ่ม
👉ในการสอนเพื่อให้ง่ายต่อการจำ ครูผู้สอนควรจะเขียนเเป็นแผนผังความคิดออกมา เพื่อเป็นแนวทางในการสอน
หน่วยนม
-นมมีลักษณะอย่างไร
-นมมีที่มาอย่างไร
-ประโยชน์
-โทษ
👉การตั้งคำถามเชิงวิทยาศาสตร์
ตัวอย่าง
- ปัญหาคือ เราจะทำอย่างไรให้นมกลายเป็นไอศกรีม
- สมมุติฐาน เอานมเข้าตู้เย็นในช่องฟีสจะทำให้แข็ง
- ทดลอง โดยการเอาเกลือใส่ในน้ำแข็งและเอานมใส่เเล้วเขย่าไปเรื่อยๆจนเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้นมกลายเป็นน้ำแข็งจนทำให้น้ำแข็งจนทำให้น้ำแข็งถึงจุดเยือกแข็ง และกลายเป็นไอศกรีม
- จึงสรุปได้ว่า การทดลองเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้
การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
1.ที่มาของหน่วย
มาจากหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยคือ สาระที่ควรเรียนรู้ได้แก่
- เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก
- เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่
- ธรรมชาติรอบตัว
- สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
2. ทำ Mind Mapping
แสดงในสิ่งที่เด็กควรรู้ในหน่วยนั้น เพื่อสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก
3. ออกแบบการจัดประสบการณ์
- ยึดหลักของทฤษฎีทางร่างกาย เช่น ทฤษฎีพัฒนาการของ เพียเจย์
การเขียนแผนการจัดประสบการณ์
- วัตถุประสงค์ คือ สิ่งที่ต้องการให้เกิดกับเด็ก
- สาระที่ควรเรียนรู้ คือ สิ่งที่เด็กเรียนรู้
- แนวคิด คือ คอนเซปของเรื่อง ที่จะสอน ตัวอย่างเช่น กระบวนทางวิทยศาสตร์
- ประสบการณ์สำคัญ คือ มาจากหลักสุตร เป็นพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
- รายวิชา (การบูรณาการ)
- แผนที่เครือข่ายใยแมงมุม
เทคนิคการจัดประสบการณ์ หน่วย ไข่
- ร้องเพลง (เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน)
- ถามเด็กว่าในเพลงมีไข่อะไรบ้าง
- ครูเขียนบันทึกและถามเด็กว่า นอกจากไข่ที่อยู่ในเพลงแล้ว เด็กๆยังรู้จักใครอะไรอีกบ้าง
- นำตะกร้าใส่ไขามาให้เด็กดุ โดยนำผ้ามาคลุมไว้และถามเด้กว่า ในตะกร้าที่คุณครูนำมามีอะไรอยู่ในนี้
- ถามเด็กว่าเด็กๆคิดว่า มีไข่ในตะกร้าประมาณกี่ฟอง (เด็กจะเกิดการคาดคะเนจากลักษณะและขนาดของตะกร้า)
- นำไข่ออกมานับโดยเรียงให้เด็กเห็นชัดเจน หลังจากที่นับแล้วให้เด็กบอกจำนวน แล้วเขียนกำกับจำนวนตัวเลขฮินดูอารบิกแทนค่าจำนวนที่นับได้
- จัดกลุ่มประเภทของไข่ (ไข่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่) จากนั้นให้นับจำนวนไข่ไก่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่
- ให้เด็กเปรียบเทียบ (เด็กจะตอบตายมที่ตาเห็น อยู่ในขั้นอนุรักษ์ )โดยให้เด็กจับคู่ 1 ต่อ 1 ออกทีลยะคู่ ถ้าไข่ไก่ยังเหลือแสดงว่าไข่ไก่มีจำนวนมากกว่าไข่ที่ไม่ใช่ไข่ไก่
การทดสอบการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
หน่วยไข่ เรื่อง ประเภทของไข่ (วันจันทร์)
- การเคลื่อนไหวตามจังหวะและสัญญาณ
- การฟังและปฎิบัติตามคำสั่งหรือข้อตกลง
- การฝึกความจำ
หน่วยดิน เรื่อง ประเภทของดิน(วันจันทร์)
หน่วยนม เรื่อง ประเภทของนม(วันจันทร์)
- การเคลื่อนไหวคามจังหวะและสัญญาณ
- การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
ประเมินผู้สอน ฝึกให้นักศึกษาได้คิด และมีเทคนิคการสอนต่างๆที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
ประเมินเพื่อน ไม่ส่งเสียงดัง แต่งกายเรียบร้อย มีเทคนิคการนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจ
ประเมินตนเอง ขาดเรียนเนื่องจากลากิจ ทำให้พลาดเทคนิคการสอนดีๆจากเพื่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น